โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมสนับสนุนสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนบนต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้ประกอบการ | กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ร่วมสนับสนุนสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือตอนบนต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้ประกอบการ

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 1 กรกฎาคม 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2454 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 1  กรกฎาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์การต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งบ่มเพาะและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้ประกอบการในภาคเหนือ ระหว่าง 14 มหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ กับสภาอุตสาหกรรม 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทันตแพทย์ สุพจน์ หวังปรีดาเลิศกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามภายในงาน FTI EXPO 2022 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ จังหวัดเชียงใหม่

         การประกาศเจตนารมณ์การต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม เป็นความร่วมมือร่วมกันของสถาบันการศึกษา 14 มหาวิทยาลัย ได้แก่  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์หรือที่เรียกว่าเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ14 มหาวิทยาลัยในการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายต่อยอดงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้ประกอบการสภาอุตสาหกรรม 17 จังหวัดภาคเหนือซึ่งมหาวิทยาลัยในเครือข่ายนั้นมีโครงสร้างพื้นฐานที่เข้มแข็งไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ ห้องปฏิบัติ อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นจะเป็นห้องเรียนให้แก่สมาชิกของสภาอุตสาหกรรมที่จะได้เข้ามาใช้เพื่อการเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ รวมทั้งการสนับสนุนการเกิดธุรกิจใหม่ที่สอดคล้องกับ S- Curve  และ New S - Curve นำไปสู่การต่อยอดการเป็น start up ที่สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจ และทั้ง 14 มหาวิทยาลัยจะเข้าไปช่วยสนับสนุนจะร่วมกันในการสร้างแผนพัฒนาจังหวัดของเขตภาคเหนือตอนบนที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงการขับเคลื่อนครั้งนี้จะเป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคให้เกิดเป็นรูปธรรม







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา